พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ปาฐกถาพิเศษเรื่อง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ในงาน Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิมว่า หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมที่จะเติบโตด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่มีสิ่งที่ต้องทำด้วยกัน 4 เรื่องใหญ่ ดังนี้
สำหรับเรื่องแรก เทคโนโลยีดิจิทัล ยอมรับว่า ในช่วงวิกฤตโควิด–19 รัฐบาลจะผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วขึ้น อย่างก้าวกระโดด ทั้งการทำธุรกรรมและการให้บริการรูปแบบต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ และการเติบโตของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การค้า e-Commerce และการใช้ Digital Banking โดยรัฐบาลได้วางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลส่งเสริมให้เกิด สังคมไร้เงินสด ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มและมาตรการต่างๆ จนประสบผลสำเร็จ ที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในขณะนี้
เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, โครงการพร้อมเพย์ และ QR Payment การจัดทำ G-Wallet หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ทั้งแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง และ ถุงเงิน เพื่อใช้ในโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน และชิมช้อปใช้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาใช้กับการคืนภาษี VAT ให้กับนักท่องเที่ยว และการออกพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังส่งเสริมการทำข้อมูลขนาดใหญ่และการลงทะเบียนด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
ส่วนเรื่องที่ 2 อุตสาหกรรม การค้า การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลดปริมาณคาร์บอน ประเทศไทยได้ประกาศกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) โดยมีเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในระดับโลก ในการประชุมสุดยอดผู้นำเวทีโลกใน COP26
ประเทศไทยต้องใช้โอกาสเร่งพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรม คิดค้นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่จะตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มุ่งไปสู่สินค้าและบริการ ที่สร้างผลกระทบให้โลก น้อยที่สุด ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทางการค้า การส่งออก และภาคธุรกิจไทย ส่วนภาคพลังงาน การผลิตไฟฟ้า รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างพลังงานลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) รัฐบาลกำหนดแผนที่จะผลิตรถยนต์ไม่ปล่อยมลพิษ 30% ของการผลิตในปี 2573 ทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถบัส และรถบรรทุก พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้าด้วย
เรื่องที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG โดยมีแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจร เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยเป็นเกษตรอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดเสี่ยงจากลมฟ้าอากาศและปัจจัยการผลิตที่เป็นปัญหาซ้ำซาก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ โดยได้มีการร่วมลงทุนกับผู้นำระดับโลก
เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อการรักษา หรือชาร์ตแบตร่างกาย การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมรดกทางวัฒนธรรม” (Soft Power)
เรื่องสุดท้ายเรื่องที่ 4 รัฐบาลได้กำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ให้มาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย โดยชาวต่างชาติที่มีศักยภาพนี้ คือ กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง หรือเป็นผู้มีทักษะสูง เช่น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง และกลุ่มผู้เกษียณอายุ จากต่างประเทศ ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว เช่น การออกวีซ่าของผู้พำนักระยะยาว การประกาศใบอนุญาตทำงาน และการศึกษาโครงสร้างเพื่อจัดตั้ง One Stop Service ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีศักยภาพสูงให้เข้ามาในประเทศไทยคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น