โซเชียลญี่ปุ่นไม่เอาการตลาดโปรโมต “บาร์บี้-ออปเพนไฮเมอร์” พร้อมกัน

โรงภาพยนตร์ทั่วโลกเวลานี้ หนังเรื่องบาร์บี้ กับออปเพนไฮเมอร์ กำลังจับมือทำเงินร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบรรดานักวิจารณ์ระบุว่า หนังทั้งสองเรื่องทำให้ตลาดภาพยนตร์ในฤดูร้อนปีนี้คึกคักทั่วโลก ผู้คนนิยมไปชมทั้งสองเรื่องพร้อมกัน และเกิดเป็นคำพูดเรียกหนังทั้งสองเรื่องรวมกันว่า บาร์เบนไฮเมอร์

อย่างไรก็ตาม ในญี่ปุ่น โลกโซเชียลต่างออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการตลาดที่อยากจะโปรโมททั้งสองเรื่องพร้อมกัน จนบริษัทต้นสังกัดของหนังเรื่องบาร์บี้ต้องออกมาขอโทษ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดแฮชแท็ก โนบาร์เบนไฮเมอร์ (#NoBarbenheimer) ติดเทรนด์ในญี่ปุ่น โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์คอนเซปท์การโปรโมทรวมกันของทั้งสองเรื่อง เนื่องจากเรื่องออปเพนไฮเมอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างระเบิดปรมาณูที่ถูกนำใช้กับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

การตลาดสุดล้ำ นำหนัง "บาร์บี้" ทำรายได้ต่อเนื่อง

ว้าวมาก! คนบันเทิงแต่งเต็ม อวดลุค “บาร์บี้” (Barbie) เหมือนหลุดออกมาจากหนัง

แต่ก่อนหน้านั้น แฮชแท็กบาร์เบนไฮเมอร์ (#Barbenheimer) ในทวิตเตอร์ได้รับการพูดถึงอย่างมาก และเกิดมีม หรือภาพล้อเลียนของนักแสดงนำจากทั้งสองเรื่อง โดยบัญชีหลักของภาพยนตร์เรื่องบาร์บี้บนทวิตเตอร์ ก็ได้เช้าไปตอบโต้ รีทวิตและแชร์ข้อความที่มีแฮชแท็กบาร์เบนไฮเมอร์ด้วย

ความไม่พอใจดังกล่าว ส่งผลทำให้บริษัทวอเนอร์บาเธอร์เจแปน ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เจ้าของหนังเรื่องบาร์บี้ ต้องออกแถลงการณ์ผ่านทางทวิตเตอร์ ระบุว่า เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องบาร์บี้ และออปเพนไฮเมอร์เข้าฉายพร้อมกันในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา จึงทำให้เกิดความเคลื่อนไหวจากบรรดาแฟนๆต่างประเทศที่เข้าไปชมภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องพร้อมกัน จนเกิดเป็นแฮชแท็ก #Barbenheimer (บาร์เบนไฮเมอร์) แต่นั่นไม่ใช่ความเคลื่อนไหวอย่างเป็นทางการคำพูดจาก เว็บสล็อต777

 โซเชียลญี่ปุ่นไม่เอาการตลาดโปรโมต “บาร์บี้-ออปเพนไฮเมอร์” พร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม เราพบว่า มีการตอบโต้ความเคลื่อนไหวเหล่านั้นของแฟนๆ จากบัญชีหลักของเรื่องบาร์บี้ ซึ่งทางบริษัทวอเนอร์บาเธอร์เจแปนถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียส และได้ขอให้ทางสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ ดำเนินการอย่างเหมาะสมด้วย และต้องขอโทษสำหรับการกระทำที่ขาดการไตร่ตรองอย่างดีด้วย

ส่วนจนถึงขณะนี้ บริษัทโตโฮ-โทวะ ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง “ออปเพนไฮเมอร์” ในญี่ปุ่น ยังไม่ประกาศวันออกฉายสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างระเบิดปรมาณูที่ใช้ทำลายเมืองฮิโรชิมะและเมืองนางาซากิ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1945 ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง

By admin

Related Post