อิสราเอล ปิดล้อมบ้านของผู้นำกลุ่มฮามาสในข่าน ยูนิส

เมื่อวานนี้ 6 ธ.ค. กองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอลหรือ IDF แถลงว่าสามารถปิดล้อมพื้นที่เมืองข่าน ยูนิส ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซาสำเร็จ หลังจากกลับมาเปิดปฏิบัติการโจมตีฉนวนกาซาอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

 อิสราเอล ปิดล้อมบ้านของผู้นำกลุ่มฮามาสในข่าน ยูนิส

ล่าสุด อิสราเอลเปิดเผยว่าทหารกำลังปิดล้อมบ้านของผู้นำกลุ่มฮามาสที่อยู่ในเมืองแห่งนี้

เมื่อคืนที่ผ่านมา เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้เปิดเผยว่า ตอนนี้ กองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอลหรือ IDF กำลังปิดล้อมบ้านของยาห์ยา ซินวาร์ ผู้นำของกลุ่มฮามาสที่อาศัยอยู่ในเมืองข่าน ยูนิส

อิสราเอล สังหาร รองหัวหน้าหน่วยข่าวกรองฮามาส หลังมีเอี่ยวเหตุโจมตี 7 ต.ค.

“วันชัย” แรงงานไทยเจ็บสาหัส เล่าวินาทีหนีตายจากกลุ่มฮามาส

ยาห์ยา ซินวาร์ คือใคร ทำไมอิสราเอลจึงต้องการตัว ยาห์ยา ซินวาร์ เป็นนักการเมืองมุสลิมนิกายสุหนี่ของปาเลสไตน์ และเป็นผู้นำของทั้งกลุ่มการเมืองและกลุ่มนักรบปีกทหารฮามาสในพื้นที่ฉนวนกาซา ซินวาร์เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยข่าน ยูนิสเมื่อปี 1962 หลังจากที่ครอบครัวของเขาถูกเนรเทศจากเขตแอชเคลอนในสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1948 หรือ เหตุการณ์นัคบาร์ครั้งแรก เขาขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำกลุ่มฮามาสตั้งแต่เดือนก.พ. ปี 2017 หรือเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หลังจากติดอยู่ในเรือนจำของอิสราเอลนานถึง 22 ปี และถูกปล่อยตัวจากการแลกตัวประกันระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลในปี 2011 หลายฝ่ายรวมถึงอิสราเอลเชื่อว่าผู้นำกลุ่มฮามารายนี้คือผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา

โดยอิสราเอลกล่าวหาว่า ผู้นำกลุ่มฮามาสประจำฉนวนกาซารายนี้เป็น Psychopath หรือบุคคลที่มีอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ซึ่งมักขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด รวมถึงขาดความยับยั้งชั่งใจ และประกาศให้คำมั่นว่า ในภารกิจกวาดล้างฮามาสในฉนวนกาซารอบนี้ อิสราเอลจะสังหารซินวาร์ให้สำเร็จ

นี่จึงกลายเป็นที่มาของการปิดล้อมเมืองข่าน ยูนิสอย่างที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก่อนหน้านี้เมืองข่าน ยูนิส เคยถูกกองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีอยู่เป็นระยะ แต่ไม่เคยมีการต่อสู้อย่างจริงจังและถูกจัดให้เป็น “พื้นที่ปลอดภัย” ในช่วงต้นของสงคราม

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายบอกว่าตอนนี้ สงครามได้เข้าถึงพื้นที่เมืองข่าน ยูนิสเรียบร้อยแล้ว และการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีลักษณะเป็นแบบสงครามระยะประชิด หรือ Close combat

ภาพวิดีโอล่าสุดที่ IDF เผยแพร่ออกมาเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า การต่อสู้ระหว่าง IDF และกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา เป็นการต่อสู้ระยะประชิดชนิดแบบบ้านต่อบ้าน หรือ house to house fighting

ด้านหน่วยงานปีกทหารของกลุ่มฮามาสก็ได้เผยแพร่ภาพการต่อสู้จากทางฝั่งของตนเองออกมาเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้ระบุพื้นที่ที่แน่ชัด โดยภาพวิดีโอจากการต่อสู้เผยให้ห็นว่า การต่อสู้จากฝั่งนักรบฮามาสก็เป็นการต่อสู้แบบประชิดตัวด้วยอาวุธปืนครบมือ รวมถึงเครื่องยิงระเบิดชนิดอาร์พีจี

เมื่อคืนที่ผ่านมา อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ระบุว่า เขาได้ใช้อำนาจในฐานะเลขาธิการยูเอ็นตามมาตรา 99 ในกฎบัตรแห่งสหประชาชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนี้เมื่อปี 2017 เพื่อขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNSC ช่วยป้องกันหายนะด้านมนุษยธรรม และขอให้ประกาศหยุดโจมตีเพื่อมนุษยธรรมในฉนวนกาซา

มาตรา 99 ของกฎบัตรสหประชาชาติ อนุญาตให้เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นสามารถนำเรื่องใดที่เห็นว่าอาจคุกคามการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาเสนอให้ UNSC ทราบ

การออกประกาศใช้อำนาจตามมาตรา 99 ของเลขาฯ ยูเอ็น กลายเป็นประเด็นใหญ่ทันที สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกองค์การสหประชาชาติระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ยูเอ็นไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรานี้มานานหลายทศวรรษแล้ว

ตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ทศวรรษขององค์การสหประชาชาติ ภายใต้การนำของเลขาธิการใหญ่ 9 คน มาตรา 99 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติถูกใช้โดยตรงเพียง 3 ครั้งเท่านั้น และครั้งล่าสุดที่มีการใช้อำนาจนี้คือ ปี 1989 หรือเมื่อ 34 ปีก่อน ภายใต้การนำของฆาบิเอร์ เปเรซ เด กูเอยาร์ เลขาฯ ยูเอ็นคนที่ 5 เพื่อจัดการกับสงครามที่เกิดขึ้นในเลบานอน

การใช้อำนาจของอันโตนิโอ กูเตอร์เรสครั้งนี้ จึงอาจสะท้อนถึงความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา และทำให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงประเทศต่างๆ เพ่งความสนใจไปที่ท่าทีและการแก้ปัญหาของ UNSC ในครั้งนี้ หลังเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการประชุมครั้งที่ผ่านๆ มาจนไม่สามารถหาทางออกให้กับวิกฤตในฉนวนกาซาสำเร็จ

ขณะเดียวกัน แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาพูดถึงสถานการณ์ในฉนวนกาซาเช่นเดียวกัน

โดยระบุว่า สหรัฐฯ มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่สนับสนุนให้อิสราเอลยึดพื้นที่ของฉนวนกาซา หรือสร้างพื้นที่บัฟเฟอร์ในฉนวนกาซา หลังสงครามครั้งนี้จบ

ด้านฟิลิปโป กรานดี หัวหน้าหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ก็ได้เตือนเรื่องการยึดพื้นที่และขับไล่ประชาชนในฉนวนกาซา ขณะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี โดยระบุว่า ทุกฝ่ายควรป้องกันไม่ให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่อีก เพราะนั่นจะสร้างภาระเรื่องผู้ลี้ภัยให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

การต่อสู้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเรื่องวิกฤตด้านมนุษยธรรมและความปลอดภัยของประชาชนที่ลี้ภัยไปอยู่บริเวณนั้น

ล่าสุด เลขาธิการใหญ่ของสหประชาชาติได้ออกมาใช้อำนาจพิเศษเป็นครั้งแรกเพื่อหวังหาทางออกให้กับเรื่องนี้

เมื่อคืนที่ผ่านมา อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ระบุว่า เขาได้ใช้อำนาจในฐานะเลขาธิการยูเอ็นตามมาตรา 99 ในกฎบัตรแห่งสหประชาชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนี้เมื่อปี 2017 เพื่อขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNSC ช่วยป้องกันหายนะด้านมนุษยธรรม และขอให้ประกาศหยุดโจมตีเพื่อมนุษยธรรมในฉนวนกาซา

มาตรา 99 ของกฎบัตรสหประชาชาติ อนุญาตให้เลขาธิการใหญ่ยูเอ็นสามารถนำเรื่องใดที่เห็นว่าอาจคุกคามการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาเสนอให้ UNSC ทราบ

การออกประกาศใช้อำนาจตามมาตรา 99 ของเลขาฯ ยูเอ็น กลายเป็นประเด็นใหญ่ทันที สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกองค์การสหประชาชาติระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ยูเอ็นไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรานี้มานานหลายทศวรรษแล้ว

ตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ทศวรรษขององค์การสหประชาชาติ ภายใต้การนำของเลขาธิการใหญ่ 9 คน มาตรา 99 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติถูกใช้โดยตรงเพียง 3 ครั้งเท่านั้นคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

และครั้งล่าสุดที่มีการใช้อำนาจนี้คือ ปี 1989 หรือเมื่อ 34 ปีก่อน ภายใต้การนำของฆาบิเอร์ เปเรซ เด กูเอยาร์ เลขาฯ ยูเอ็นคนที่ 5 เพื่อจัดการกับสงครามที่เกิดขึ้นในเลบานอน

การใช้อำนาจของอันโตนิโอ กูเตอร์เรสครั้งนี้ จึงอาจสะท้อนถึงความร้ายแรงที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา และทำให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงประเทศต่างๆ เพ่งความสนใจไปที่ท่าทีและการแก้ปัญหาของ UNSC ในครั้งนี้ หลังเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการประชุมครั้งที่ผ่านๆ มาจนไม่สามารถหาทางออกให้กับวิกฤตในฉนวนกาซาสำเร็จ

ขณะเดียวกัน แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาพูดถึงสถานการณ์ในฉนวนกาซาเช่นเดียวกัน

โดยระบุว่า สหรัฐฯ มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่สนับสนุนให้อิสราเอลยึดพื้นที่ของฉนวนกาซา หรือสร้างพื้นที่บัฟเฟอร์ในฉนวนกาซา หลังสงครามครั้งนี้จบ

ด้านฟิลิปโป กรานดี หัวหน้าหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ก็ได้เตือนเรื่องการยึดพื้นที่และขับไล่ประชาชนในฉนวนกาซา ขณะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี โดยระบุว่า ทุกฝ่ายควรป้องกันไม่ให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่อีก เพราะนั่นจะสร้างภาระเรื่องผู้ลี้ภัยให้กับประเทศเพื่อนบ้าน

ป.ป.ช. แจงยิบ ยืนยัน“ครูชัยยศ” ถูกปลดเพราะมีมูลความผิดอย่างร้ายแรง

ยูเนสโกประกาศแล้ว! "สงกรานต์" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย

By admin

Related Post