"ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท" ได้แน่แต่ ไม่ได้ทุกคน ไม่ได้ทุกอาชีพ

มติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 เม.ย.2567 ออกมาชัดเจนมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน แน่นอน สงกรานต์นี้ 13 เม.ยคำพูดจาก เว็บพนันออน. 2567 มีผลทันที แต่ไม่ได้ทุกพื้นที่ หรือ ได้ทุกคน ที่สำคัญกำหนดขึ้นให้เฉพาะ ธุรกิจโรงแรม

10 จังหวัดนำร่องที่ได้ กรุงเทพมหานคร กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระยอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี แต่…มีแค่ภูเก็ตเท่านั้นที่ได้ทั้งจังหวัด

ส่วนจังหวัดอื่นๆ อีก 9 จังหวัดมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นสถานประกอบกิจการประเภทกิจการโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป และมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป

ซึ่งการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท จะทำให้พื้นที่ที่ได้ปรับขึ้นเฉลี่ยวันละ 30-55 บาท แล้วแต่พื้นที่

สำหรับเหตุผลว่า ทำไมการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ถึงเป็นแบบนี้ ในเอกสารของคณะรัฐมนตรี บอกไว้ว่า ช่วยให้แรงงานสามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องในหลายสาขา นำไปสู่การสร้างงานและสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่มากขึ้น

อธิบายง่ายๆ คือ พื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวในภาคการท่องเที่ยวและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ก็ช่วยทำให้แรงงานสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้

ยกตัวอย่าง ภูเก็ต อันนี้ได้ทั้งจังหวัด กรุงเทพ ฯ ได้เฉพาะเขตปทุมวัน เขตวัฒนา / ชลบุรี เฉพาะพัทยา /สุราษฎร์ธานี เฉพาะเกาะสมุย /กระบี่ เฉพาะตำบลอ่าวนาง หรือ /ประจวบได้เฉพาะหัวหิน / เชียงใหม่ เฉพาะเทศบาลนครเชียงใหม่ / พังงานเฉพาะ ต.คึกคัก ระยอง เฉพาะ ตำบลเพ และสงขลาได้เฉพาะหาดใหญ่คำพูดจาก สล็อต777

แต่ที่นี่มีอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ตอนแถลงผลการประชุม คณะรัฐมนตรี นายคารม พลพร กลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดถึงเรื่องนี้ บอกว่า ต่อไปนี้ ไม่มีอีกแล้วธรรมเนียมการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปีละ 1 ครั้ง แต่อาจจะขึ้นปีละหลายๆ ครั้ง เพราะการประชุมองค์กรไตรภาคี หรือ บอร์ดค่าจ้าง ที่มีฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและภาครัฐ จะประชุมกันทุกเดือน

ขณะที่มุมมองของภาคเอกชนก็มีต่อเรื่องนี้ โดยสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และความตั้งใจของรัฐบาล แต่ก็ต้องควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลตั้งใจว่าจะดันเศรษฐกิจให้โตถึง 5% ได้หรือไม่ อันนี้เป็นโจทย์สำคัญ

ในฐานะภาคเอกชนก็อยากเห็นผู้ใช้แรงงานมีรายได้สูงขึ้น แต่ก็ต้องดูว่าผู้ประกอบการสามารถจ่ายไหวหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่ม SME จึงอยากให้รัฐบาลฟังเสียงจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน รวมถึงหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบ หากปรับค่าจ่างขึ้นหลายครั้งต่อปี แต่เศรษฐกิจดี ผู้ประกอบการทำมาค้าขึ้น ทุกฝ่ายก็ยินดีพิจารณาร่วมกัน

By admin

Related Post